ทนายบริษัทสัมปานรังนกพัทลุงฯ แจงเหตุที่ฟ้อง 400 ล้าน-เสียหายหนัก
หมวดหมู่ : พัทลุง, ทั่วไป,
โฟสเมื่อ : 17 เม.ย. 2566, 10:27 น. อ่าน : 708พัทลุง-บริษัทสัมปทานรังนกฯ แจงเหตุที่ต้องฟ้องเรียกค่าเสียหาย 400 ล้านบาท เพราะเสียหายหนัก ส่วนคณะกรรมการรังนกฯชุดใหม่อ้างว่ารังนกถูกขโมยไปเพียงเล็กน้อย
จากกรณีที่บริษัทสยามเนสท์ 2022
จำกัด เป็นผู้ชนะการประมูลในการสัมปทานรังนกอีแอ่นในพื้นที่ ต.เกาะหมาก อ.ปากพะยูน
จ.พัทลุง เป็นเงิน จำนวน 400 ล้านบาท ในระยะเวลา 5 ปี ในระหว่างวันที่ 9 กันยายน 2564 – 8 กันยายน 2569 ต่อมาเมื่อวันที่ 9 กันยายน
2564 ตัวแทนบริษัทสยามเนสท์ฯ คณะกรรมการรังนกฯ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและกลุ่มสื่อมวลชน ได้ลงพื้นที่เกาะรังนกเพื่อรับมอบเกาะจากทางคณะกรรมการรังนกฯ แต่ปรากฏว่าในถ้ำรังนกขนาดใหญ่ จำนวน
7 ถ้ำรังนกได้ถูกขโมยจนเกลี้ยงถ้ำ จนทางบริษัทสยามเนสท์ฯ จึงได้ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากคณะกรรมการรังนกจังหวัดพัทลุง เป็นเงิน 500 ล้านบาท
ซึ่งทั้ง 2 ฝ่ายได้นัดพูดคุยกันในเบื้องต้นในเย็นวันที่ 11 เมษายน 2566 ที่ผ่านมา ที่ห้องประชุมสภา อบจ.พัทลุง แต่ไม่สามารถเจรจาตกลงกันได้ ตามข่าวที่เสนอมาแล้วนั้น
เกี่ยวกับเรื่องนี้ นายพิพัฒน์ อมรรัตพงศ์
ทนายความของบริษัทสยามเนสท์ฯ เปิดเผยว่า การเก็บรังนกในแต่ละรอบก่อนที่ทางบริษัทได้เข้าสัมปทานนั้น มีข้อมูลการจัดเก็บที่ชัดเจนว่าในแต่ละรอบจัดเก็บได้ประมาณ 800 กก. ซึ่งในแต่ละปีจะจัดเก็บรังนกได้ประมาณ 3,000 กก. แต่เมื่อทางบริษัทฯ
เข้าประมูลกลับจัดเก็บรังนกได้ประมาณ 200 กก./รอบ ทำให้ในแต่ละปีจัดเก็บรังนกได้ไม่เกิน
1,000 กก.ทำให้ทางบริษัทสูญเสียรายได้ไปไม่น้อยกว่าปีละ 500 ล้านบาท ดังนั้น หากไม่มีการต่อสัญญาบริษัทจะมีรายได้ประมาณปีละ 50 ล้านบาท ในขณะที่ทางบริษัทฯจะต้องเสียภาษีอากรประมาณ 80 ล้านบาท/ปี และยังมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการอีกเป็นจำนวนมาก จนส่งผลให้การประกอบธุรกิจของบริษัทขาดทุนมาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น ทางบริษัทฯจึงจำเป็นที่จะต้องฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายต่อคณะกรรมการจัดเก็บรังนกอีแอ่นจังหวัดพัทลุง หากได้รับการชดเชยความเสียหายก็จะเกิดประโยชน์ขึ้นทั้ง 3 ฝ่าย
นายพิพัฒน์ กล่าวอีกว่า ในเบื้องต้นคณะกรรมการรังนกฯชุดใหม่หลายรายออกมายืนยันว่ารังนกได้ถูกลักขโมยไปเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ศาลจึงได้ให้คณะกรรมการรังนกฯและทางบริษัทได้พูดคุยกันเพื่อสร้างความเป็นธรรม ความถูกต้อง ให้กับทุกฝ่าย ซึ่งในการพูดคุยกันในวันที่ 11 เมษายน
2566 นั้น ทางบริษัทฯได้นำสื่อมวลชน ฝ่ายสอบสวน มายืนยันข้อมูลความเสียหายของรังนกด้วย แต่ก็แปลกใจที่ทางคณะกรรมการรังนกฯได้ปฏิเสธที่จะเปิดโอกาสให้สื่อมวลชน ชุดสอบสวน เข้าร่วมการพูดคุยด้วย โดยอ้างว่ารายละเอียดอยู่ในสำนวนการสอบสวนแล้ว
ผู้สื่อข่าวรายงานอีกว่า สำหรับคณะกรรมการรังนกฯชุดปัจจุบันนั้นเพิ่งเข้ามารับตำแหน่งตาม พ.ร.บ.รังนกอีแอ่น ซึ่งหลายคนไม่ทราบรายละเอียดเรื่องการลักขโมยและการทำลายทรัพยากรรังนกมาก่อนหน้านี้ จึงทำให้การพูดคุยกันทั้ง 2 ฝ่ายจึงไม่สามารถสรุปผลการเจรจาและการพูดคุยกันได้ และคงต้องใช้ระยะเวลาในการพุดคุยในการแก้ปัญหาดังกล่าว และเชื่อว่าทางคณะกรรมการรังนกฯต่างมีความมุ่งมั่นที่จะรักษาผลประโยชน์ของท้องถิ่นให้คงไว้เหมือนเดิม ข่าวคืบหน้าจะเสนอต่อไป.