“ประมงพื้นบ้าน” ยื่นคัดค้าน แก้ พ.ร.บ.เปิดช่องโหว่

หมวดหมู่ : เศรษฐกิจ, สตูล,

อ่าน : 428
พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมตามพระราชกำหนดประมง พ.ศ.2558
“ประมงพื้นบ้าน” ยื่นคัดค้าน แก้ พ.ร.บ.เปิดช่องโหว่

จังหวัดสตูล ตัวแทนชาวประมงพื้นบ้าน จ.สตูล เข้ายื่นหนังสือที่ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัด เพื่อส่งไปยังประธานสภาผู้แทนราษฎร และประธานกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมตามพระราชกำหนดประมง พ.ศ.2558 คัดค้านการตัดวัตถุประสงค์การคุ้มครองช่วยเหลือชาวประมงพื้นบ้านและชุมชนประมงท้องถิ่นออก เปิดช่องโหว่ให้ประมงหนักมาเป็นพื้นบ้าน

 

เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2567 เวลา 13.30 น. ชาวประมงพื้นบ้านจาก อ.ละงู อ.ท่าแพ และ อ.เมืองสตูลประมาณ 50 คน นำโดยนายเหลด เมงไซ แกนนำประมงพื้นบ้าน อ.ท่าแพ นายกัมพล ถิ่นทะเล นายกสมาคมชาวประมงพื้นบ้านปากน้ำ ต.ปากน้ำ อ.ละงู นายสมยศ โต๊ะหลัง ตัวแทนประมงพื้น อ.ท่าแพ เดินทางไปยื่นหนังสือต่อนายชัยวุฒิ บัวทอง ปลัดจังหวัดสตูล นายประชิด  ตรีพลอักษร หัวหน้ากลุ่มพัฒนาและส่งเสริมอาชีพประมง รรท.ประมง จ.สตูล นายธนพัฒน์ เด่นบูรณะ ผอ.กลุ่มงานศูนย์ดำรงธรรม จ.สตูล ที่ศูนย์ดำรงธรรมศาลากลาง จ.สตูล เพื่อส่งต่อไปยังประธานสภาผู้แทนราษฎร และ ประธานกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.2558 

 

ทั้งนี้สืบเนื่องจาก เมื่อวันที่ 22 ก.พ. 2567 ที่ผ่านมา สภาผู้แทนราษฎร ได้มีมติเห็นชอบในหลักการ ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.2558  ตามที่คณะรัฐมนตรี เสนอ พร้อมกับฉบับของพรรคการเมืองต่างๆ อีก 7ฉบับ และได้แต่งตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พระราชบัญญัติฯดังกล่าว จำนวน 37 คน ไปพิจารณารายละเอียด โดยใช้ร่างฉบับของคณะรัฐมนตรีเป็นฉบับหลัก ในการพิจารณา และมีการประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ แล้วสองครั้ง  มีสาระสำคัญ คือ การตัดวัตถุประสงค์การคุ้มครองช่วยเหลือชาวประมงพื้นบ้านและชุมชนประมงท้องถิ่น ออก รวมทั้งกรณี การลดเขตทะเลชายฝั่ง การเปิดช่องให้เครื่องมือประมงหนักเปลี่ยนมาเป็นประมงพื้นบ้าน เปลี่ยนแปลงข้อกำหนดเกี่ยวกับกรรมการประมงประจำจังหวัด และการลดโทษลง เป็นต้น  

 

ดังนั้นชาวประมงพื้นบ้าน จ.สตูล ร่วมกับประมงพื้นบ้านจังหวัดชายทะเล ประกาศไม่เห็นด้วยกับการยกเลิกการคุ้มครองประมงพื้นบ้าน โดยมองว่า ชาวประมงพื้นบ้านเป็นประชาชนในท้องถิ่น ที่จำเป็นต้องได้รับการคุ้มครอง การช่วยเหลือสนับสนุนจากภาครัฐ จึงได้ไปยื่นหนังสือแจ้งข้อกังวลและเห็นว่าจะมีผลกระทบต่อชีวิตความเป็นชาวประมงพื้นบ้านและชุมชนท้องถิ่นเป็นอย่างมาก ผ่านไปถึงประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม พระราชกำหนดการประมง พ.ศ.2558 เพื่อนำไปพิจารณาของ สส.และประธานกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.2558.

 

ภายหลังรับหนังสือ นายประชิด ตรีพลอักษร หัวหน้ากลุ่มพัฒนาและส่งเสริมอาชีพประมง รรท.ประมง จ.สตูล กล่าวว่ากฏหมายอยู่ในสภายังไม่รู้ว่าจะออกมาอย่างไร ทราบว่า 22 จังหวัดชายทะเลพร้อมกัน ออกมาศาลากลาง ในนามของประมง จ.สตูลได้รับเรื่องเพื่อดำเนินการต่อไปหวังว่าชาวประมงพื้นบ้านทุกคนคงติดตามข่าวสารกัน โดยมุ่งหมายของกรมประมงเอง ก็ดูแลคนทุกคนทั้งประมงพื้นบ้านประมงพาณิชย์ ไม่ให้ใครมารังแกใคร ทุกคนมีผลปรโยชน์ร่วมกันทรัพยากรเป็นของทุกคน  เกี่ยวกับการยื่นเรื่องดังกล่าวทำให้ชาวประมงพื้นบ้านได้มีโอกาสทำมาหากินอย่างยั่งยืนต่อไป คงไม่น่าจะเกิดปัญหาอะไร แต่ทุกต้องติดตามข่าวอย่างใกล้ชิดอย่ากะพริบตาเดี๋ยวพลาดได้ เพราะฉะนั้นต้องติดตามต้องตามอย่างต่อเนื่องประมง จ.สตูล ยินดีดำเนินการจะส่งเรื่องไปให้. 

 



อ่านข่าวที่เกี่ยงข้อง :